วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ที่เที่ยว - ปาย แม่ฮ่องสอน

     ใกล้จะหน้าหนาวอีกแล้ว หลายๆ คนคงคิดถึงบรรยากาศบนดอย หมอกปกคลุม ใส่เสื้อกันหนาวหนาๆ เมืองเหนือบ้านเรา จึงอยากจะแนะนำสถานที่เที่ยวสุดฮิตในช่วงหน้าหนาว ปาย ให้รู้จักกันมากขึ้นค่ะ

     ปายเป็นอำเภอเล็กๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยขุนเขา เป็นรอยต่อชายแดนไทย-พม่า ฤดูหนาวอากาศเย็นจัด ปกคลุมด้วยสายหมอก ละอองน้ำจาง ๆ ยามเช้า และด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คนทำให้เมืองปายยังคงความเป็นธรรมชาติไว้สูง เอกลักษณ์เหล่านี้จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสมนต์เสน่ห์ของเมืองปายได้อย่างมากมาย



 




















นอกจากไปสูดอากาศดีๆ ที่ปายแล้ว ยังมีกิจกรรมที่เป็นที่นิยมทำกันมาแนะนำกันด้วยค่ะ

1. ปั่นจักรยานชมเมืองปาย
     เส้นทางปั่นจักรยานสาย เชียงใหม่ – แม่มาลัย - ปาย เป็นเส้นทางที่ท้าทายนักปั่นเสือภูเขาเป็นอย่างมาก เพราะเส้นทางคดเคี้ยว ปั่นเลาะเลี้ยวไปตามหุบเขา สองข้างทางรายล้อมไปด้วยพืชพรรณไม้และป่าเขาลำเนาไพร โดยนักท่องเที่ยวสามารถนำจักรยานมาเอง หรือถ้าไม่สะดวกที่นี่ก็มีบริการจักรยานให้เช่าค่ะ

2. นั่งช้างชมไพร
     โยกซ้ายที... โยกขวาที... กับการนั่งช้างชมไพร เป็นกิจกรรมที่บริการให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินในการชมธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง ท่านสามารถติดต่อบริการนั่งช้างได้ที่ ปางช้างบ้านท่าปาย ใกล้กับท่าปายสปาแค้มปิ้งรีสอร์ท เป็นเส้นทางเดียวกับการไปน้ำพุร้อนบ้านท่าปาย ค่าบริการนั่งช้าง ชั่วโมงละ 500 บาท นั่งได้สองคนต่อช้าง 1 เชือก

3. ล่องแก่งแม่น้ำปาย
     การล่องแก่งแม่น้ำปาย รวมระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ความยากของแก่งมีตั้งแต่ระดับ 1 - 4 ช่วงฤดูฝนอาจจะถึงระดับ 5 ซึ่งมีความยากมาก และระดับน้ำรุนแรง  โดยส่วนใหญ่โปรแกรมการล่องแก่งจะไปเริ่มที่ลำน้ำของในเขต อ.ปางมะผ้า และไปสิ้นสุดที่ลำน้ำปายในพื้นที่ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสธรรมชาติที่สวยงามและความสนุกสนานตลอดสายน้ำ เช่น เล่นน้ำตกซู่ซ่า ผจญภัยแช่ตัวในบ่อโคลน กระโดดหน้าผาสูง ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการล่องแก่ง คือ เดือนมิถุนายน - กุมภาพันธ์ของทุกปี

4. ล่องแพยาง
     อำเภอปาย นับว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้ริเริ่มกิจกรรมนี้ การล่องแพยางไปตามสายน้ำ เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองนี้มักจะไม่พลาด

การเดินทาง
     สามารถเดินทางมาปายได้ทั้งรถส่วนตัว รถทัวร์ หรือเครื่องบินก็ได้ค่ะ

1. รถโดยสารประจำทาง

จากกรุงเทพฯ
     มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ทุกวัน วันละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เมืองเหนือยานยนต์โทร. 0-2936-3587-8, 0-2245-4439, 0-2278-5392

จากเชียงใหม่
มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทาง คือ
     1. สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอแม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง
     2. สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา  07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อบริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. 0-5361-1318

2. เครื่องบิน

- บมจ. การบินไทย มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0-2280-0060, 0-2628-2000
- สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0-5321-0043-5, 0-5321-1044-7
- สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0-5361-1297, 0-5361-1194, 0-5361-1514

Credit by : http://travel.kapook.com

ที่เที่ยว - เขื่อนรัชชประภา (กุ้ยหลินเมืองไทย) สุราษฎร์ธานี

     กุ้ยหลินเมืองไทย หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อนี้กันมา ซึ่งแค่ชื่อก็บอกได้ถึงความน่าสนใจแล้ว และคงอยากจะทำความรู้จักกับที่เที่ยวนี้ให้มากขึ้น วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ ถ้ามีโอกาสคงจะไม่พลาดไปชมความงามของธรรมชาติที่นี่แบบเต็มๆ ตากันต่อไปนะค่ะ
   
     กุ้ยหลินเมืองไทย หรือเขื่อนรัชชประภา อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเองค่ะ เดิมทีเขื่อนนี้ชื่อ เขื่อนเชียวหลาน ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเขื่อนรัชชประภา เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ผลิตไฟฟ้าแจกจ่ายไปยังเขตต่างๆของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขื่อนนี้ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก


   

     อุทยานแห่งชาติเขาสก จะแบ่งจุดท่องเที่ยวออกเป็น 2 ส่วน คือ เขาสกส่วนของเขื่อนรัชชประภา ซึ่งนักท่องเที่ยวชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน จากนั้นลงเรือเพื่อไปนอนแพ ชมเขาสามเกลอ(ภูเขาหินกลางน้ำ) ซึ่งเรียกว่ากุ้ยหลินเมืองไทย เที่ยวถ้ำประการัง ถ้ำน้ำทะลุ อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่เป็นที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสกซึ่งเป็นจุดที่ไปชมน้ำตก เดินป่า และชมบัวผุดจะอยู่คนละแห่งกัน ห่างกันประมาณ 60 ก.ม. ซึ่งโปรแกรมที่เป็นที่นิยมซึ่งจะถูกบรรจุไว้ในโปรแกรมท่องเที่ยว ซึ่งจะคล้ายๆ กันก็คือ เที่ยวเขาสก ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน โดยวันแรกชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน ลงเรือนอนแพ เที่ยวชมถ้าปะการัง ชมเขาสามเกลอ นอนแพ เล่นน้ำ พายเรือคายัค ส่วนวันที่ 2 ก็กลับขึ้นมายังฝั่งเขื่อนเชี่ยวหลาน จากนั้นก็ไปเที่ยวยังเขาสกส่วนที่เป็นอุทยาน เดินป่า ชมดอกบัวผุด ซึ่งต้องเดินเข้าไปประมาณ 2 กม. หรือบางทีก็อาจ 5 กม. จะบานในช่วงเดือน พ.ย. – มี.ค.




การเดินทาง

     ได้เห็นภาพก็คงอยากจะไปเที่ยวกันแล้วใช่ไหมคะ การเดินทางก็มีได้หลายแบบค่ะทั้งรถส่วนตัว รถทัวร์ รถไฟ และเครื่องบิน
1. เดินทางโดยรถส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ไปจนถึงจังหวัดชุมพรจากนั้นตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 41 จนถึง อ.พุนพิน ตรงสี่แยกที่สามารถเข้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ไม่ต้องเข้าตัวจังหวัด ให้ตรงไปเรื่อยๆ จนถึงแยก ท่าโรงช้าง ให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 จากนั้นประมาณ 40 กม. ก่อนจะถึงตัว อ.บ้านตาขุน จะมีป้ายใหญ่ของเขื่อนรัชชะประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) ทางขวามือ

2 . เดินทางโดยรถทัวร์
ขาไป
จากสถานีขนส่งสายใต้ มีรถโดยสารประจำทาง ให้ขึ้นรถทัวร์ที่ไปยังภูเก็ต หรือ พังงาแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าลง ปากทางเข้าเขื่อนรัชชะประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) ตรง อ.บ้านตาขุน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง ส่วนมากใช้บริการของ ภูเก็ตเซ็นทรัล หรือ ภูเก็ตท่องเที่ยว VIP24 ที่นั่ง ราคาประมาณ 1000 บาทหรือ แบบ 32 ที่นั่งราคาประมาณ 7xx บาท บอกพนักงานบนรถว่าขอลง อ.บ้านตาขุน (ปากทางเข้าเขื่อนเขี่ยวหลาน) เที่ยวรถมีรอบประมาณช่วง 19.00-20.00น ขึ้นได้หมด รถน่าจะมาถึง อ.บ้านตาขุน ประมาณ 6.00น แวะไปกินโจ๊กก่อนเข้าไปในตัวเขื่อน จากนั้นใช้บริการจักรยานยนต์รับจ้างเข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ
ขากลับ
ขึ้นรถที่อ.บ้านตาขุน โดยซื้อตั๋วกลับได้ที่จุดขึ้นรถของบริษัทรถทัวร์ที่ให้บริการอยู่ในบริเวณนั้นซึ่งจะมี บริษัทภูเก็ตเซ็นทรัลทัวร์ ลิกไนต์ทัวร์ โดยมารอขึ้นรถที่บ้านตาขุน รถจะมาถึงประมาณทุ่มกว่าๆ

การเดินทางจากเมืองสุราษฎร์
-
นั่งรถตู้ สุราษฎร์- ตาขุน - เขื่อนรัชชประภา คิวรถอยู่ที่ตลาดเกษตร 2 ราคา ท่านละ 150 บาท
- รถบัสโดยสารปรับอากาศ สาย 444 กระบี่-พังงา-ทุ่งมะพร้าว-ปากทางทับละมุ-เขาหลัก-ปากทางน้ำเค็ม-ตะกั่วป่า-อุทยานแห่งชาติเขาสก รถออกจาก บ.ข.ส. กระบี่ (ตลาดเก่า) เวลา 11.30 น. รถออกจากปากทางอุทยานแห่งชาติเขาสก เวลา 09.00 น.

3. เดินทางโดยรถไฟ
ขึ้นรถไฟสาย กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ทุกวัน มีทั้งรถด่วนและรถเร็ว ลงที่สถานีรถไฟพุนพิน และนั่งรถประจำทางสายสุราษฎร์ธานี - ตะกั่วป่า – ภูเก็ต รถเที่ยวแรกที่จะไปทางเชี่ยวหลานได้ คือตอน 6.30 น หลังจากนั้นก็จะมีรถบัส รถทัวร์ ต่างๆ วิ่งอยู่ตลอด ทุกชั่วโมง ลงรถที่หลักกิโลเมตรที่ 109 แล้วเดินหรือใช้บริการจักรยานยนต์รับจ้างเข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสก

4. เดินทางโดยเครื่องบิน 
นั่งรถตู้จากสนามบินไปลงตลาดเกษตร 1 แล้วไปต่อรถตู้ที่ตลาดเกษตร 2 ไปลงเขื่อน ค่ารถทั้ง2ต่ออยู่ประมาณ250-300บาทต่อคน เวลาอยู่ที่คอยรถออกนานแค่ไหน เฉพาะวิ่งอย่างเดียวประมาณ 2 ชั่วโมง มีรถตู้ของบริษัท พันทิพย์ 1970 เบอร์โทร 077-272230,077-272906

ที่พัก

     ที่เที่ยวที่นี่ในคืนแรกนิยมนอนแพ ซึ่งมีให้บริการหลายเจ้า ราคาจะคล้ายๆ กัน อยู่ที่ 600-800 บาท รวมที่พักบนแพ 1 คืน อาหาร 3 มื้อ กลางวัน เย็น และเช้าอีกวัน ห้องพักสามารถพักได้ 2-4 คน แล้วแต่ขนาดของห้อง ไม่มีแอร์มีแต่พัดลม รายชื่อแพที่พัก
- แพเพลินไพร โทร. 077-346097, 081-892 6321
- แพสายชลโทร 081 891 6052 ราคาคนละ 600 บาท (แพไม้ไผ่แบบเก่า) แพใหม่ คนละ 800 บาท ที่พัก 1 คืน อาหาร 3 มื้อ
- แพนางไพร โทร 081 365 7423 ราคาคนละ 650 บาท ที่พัก 1 คืน อาหาร 3 มื้อ
- แพโตนเตยอยู่ใกล้ กับถ้ำน้ำทะลุ โทร. 086-120 7875
- แพคลอคละ โทร. 077-299078-9

แพที่สงบที่สุดต้องไป แพคลองแสง อยู่ตรงต้นน้ำเลย เงียบแบบตัดขาดจากโลกภายนอก เดินทางไปใช้เวลา 2 ชม. ค่าเรือแพงมาก แต่ที่นี่เป็นแหล่งที่นักตกปลาบอกว่า สุดยอดส่วนถ้าเอาแบบสงบไม่เยอะมาก แต่ราคาสวยๆก็คงเป็นแพ ในกลุ่มบริเวณคลองมุย แพสายชล แพเพลินไพร แพเชี่ยวหลานจังเกิ้ลคราฟ ราคาใกล้เคียงกัน แตกต่างกันไม่กี่สิบบาท แพนางไพร เป็นแพใกล้จุดชม กุ้ยหลิน เขาสามเกลอ ดังนั้นก็จะมีเรือมาแวะจอดตลอดทั้งวัน แต่ที่นี่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการห้องน้ำที่เหมือนบนฝั่งมากๆ

ที่พักในบริเวณเขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน)
     สำนักงานป่าไม้อุทยานแห่งชาติเขาสกจัดบริการที่พักทั้งหมด 3 จุดได้แก่ บ้านพักบริเวณหน่วยอุทยาน ขส.2 มีทั้งหมด 2 หลังพักได้ประมาณ 30 คน แพพักที่หน่วยฯ นางไพร มี 6 หลัง พักได้ประมาณ 50 คน และ แพพักที่หน่วยฯ โตนเตย มื 7 หลัง พักได้ประมาณ 10-18 คน มีไฟฟ้า ห้องนอน ห้องน้ำ และบริการอาหาร ผู้ที่ประสงค์จะไปพักควรติดต่อสำรองที่พักล่วงหน้า นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้จัดบริการบ้านพักเป็นลักษณะเรือนแถวทั้งหมด ห้องราคา 200-500 บาทต่อคืน ติดต่อสำรองที่พัก ล่วงหน้าที่ โทร (077) 311522, 240740-5 ต่อ 5008 ในวันและเวลาราชการ

ที่พักใกล้อุทยานแห่งชาติเขาสก
     ซึ่งส่วนใหญ่จะพักคืนที่ 2 หลังจากขึ้นมาจากส่วนที่เป็นกุ้ยหลินแล้ว
- ภูผาและลำธารรีสอร์ท โทร: 087-2718787
- Khao sok tree house resort เว็บไซต์ http://www.khaosok-treehouse.com/
- Khaosok paradise resort เว็บไซต์ http://www.khaosok-hotels.com/
- BaanKhao sok resort โทร 081-9580185
- ที่พักในบริเวณอุทยาน มีบริการบ้านพักทั้งหมด 3 หลัง พักได้ประมาณ 6 คนต่อหนึ่งหลัง ราคา 350 บาทต่อคืน สำหรับการตั้งเต็นท์ควรเตรียมอุปกรณ์ไปด้วย ติดต่อสำรองที่พักล่วงหน้าที่สำนักงานป่าไม้

อุทยานแห่งชาติเขาสก
หมู่ที่ 6 ต.คลองสก อ. พนม จ. สุราษฏร์ธานี 84250
โทรศัพท์ : 0 7739 5139, 0 7739 5154-5 โทรสาร : 0 7739 5139, 0 7739 5154

Credit by : 
http://www.paiduaykan.com
http://www.muangthai.com

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

อาหาร - เครื่องเทศไทย คุณสมบัติและประโยชน์ที่มี


              

อาหารไทย ถือว่าเป็นอาหารที่มีพืชสมุนไพรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ  นอกจากใช้ในการแต่งกลิ่น รส และเพิ่มสีสันของอาหารแล้ว ยังใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณในทางยาที่ทำให้ถือว่าอาหารไทยนั้นเป็นอาหารที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพ เราจะพาไปให้ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่องเทศที่นิยมใช้ในอาหารไทยกันดังนี้ค่ะ

1. กระชาย เหง้ากระชายใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงบางอย่าง ส่วนใหญ่เป็นแกงที่ใช้ปลา เช่นน้ำยาปลา แกงส้ม เนื่องจากกลิ่นรสที่เผ็ดร้อนและขมของกระชายจะช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ดี จึงนิยมใส่ในอาหารที่มีปลาเป็นส่วนประกอบหลัก เช่นผัดเผ็ดปลาดุก แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย เป็นต้น
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- แก้ใช้ ลดการอักเสบ
- ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย
- สาร Cardamonin ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง

2. กระเทียม กระเทียมเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทย ผัดผักทุกจานต้องทุบกระเทียมลงไปเจียวให้หอมก่อนใส่เนื้อสัตว์และผัก กระเทียมเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ในน้ำพริกแกง น้ำพริกทุกชนิด อาหารจานยำก็ต้องใช้กระเทียมเป็นส่วนประกอบสำคัญเช่นกัน หรือใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าเพื่อแต่งกลิ่นอาหาร และยังสามารถนำหัวกระเทียมมาดอง ต้นกระเทียมก็สามารถนำมาผัดและต้มได้ 
ประโยชน์
- ช่วยขับลม แก้จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต ลดสารไฟบริโนเจน
- อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ และไวรัส

3. กระเพรา ใช้ปรุงอาหารประเภทแกงป่า แกงแค ผัดเผ็ดเนื้อชนิดต่างๆ ผัดกระเพรา ช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อ และปลา โดยใส่ใบสดลงในอาหารหลังจากสุกพร้อมที่ยกลงจากเตา
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ต้านความเครียด และการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร   

4. ข่า ส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารคือ ดอกและเหง้าทั้งแก่และอ่อน โดยเหง้าอ่อนและดอกข่านำมาใช้เป็นผัก เหง้าแก่ซึ่งมีรสชาติเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศปรุงรสและแต่งกลิ่นสำหรับน้ำพริก แกงหลายชนิด ผัดเผ็ด แกงไตปลา ในลาบต่างๆ ต้มยำ และต้มอื่นๆ เช่นต้มเครื่องในวัว ใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมาก เหง้าอ่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มข่าไก่
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ยีสต์       

5. ขิง คนไทยใช้ขิงดับกลิ่นคาวปลาในอาหารหลายชนิด เช่น ต้มส้ม ปลานึ่งมะนาวใส่ขิง ใช้ผัดกับเนื้อสัตว์ เป็นส่วนประกอบของแกงฮังเล เป็นส่วนผสมในเมี่ยงต่างๆ เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงปลาทู เมี่ยงส้ม ใส่พวกเครื่องจิ้ม หอยดอง ไตปลา แสร้งว่า ขิงซอยผัดกับเนื้อสัตว์ต่างๆ เจี๋ยนปลา ยำต่างๆ เช่น ยำปลาทู ยำขิง ยำปลากระป๋อง ยำหองแครง หรือนำมาดองกินกับน้ำพริกหรือข้าวต้ม ใช้เป็นผักสด/เครื่องเคียง กับเครื่องจิ้ม หลนทุกชนิด นำมาต้มเป็นเครื่องดื่มหรือใส่ในของหวาน เช่น ถั่วเขียว หรือมันต้มน้ำตาล
ประโยชน์
- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ไอ ขับเสมหะ
- ลดไขมันและโคเลสเตอรอลในเลือดของหนู
- ลดการอักเสบและลดการจับตัวของเกร็ดเลือด
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ ไวรัส 

6. ตะไคร้ ตะไคร้มีรสเผ็ดร้อนและขม ใช้เป็นเครื่องแต่งกลิ่นรสอาหารไทย เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องแกงเผ็ดทุกชนิด เช่น น้ำพริกแกงเผ็ด แกงส้ม เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำยา ข้าวยำปักษ์ใต้ น้ำพริกอ่อง แกงไตปลา น้ำพริกตะไคร้ เป็นต้น ใช้สดในอาหารจานพล่ายำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญในต้มยำ 
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์
- ขับปัสสาวะ

7. พริก พริกที่นิยมนำมาใช้ในอาหารไทย ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้าแดงและเขียว พริกเหลือง พริกหนุ่ม และพริกหยวก ซึ่งพริกแต่ละชนิดมีความเผ็ดมากน้อยแตกต่างกัน สามารถใช้ได้ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่น หรือนำมาดองกับน้ำส้ม พริกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำพริกแกง น้ำพริกต่างๆ อาหารจานยำ พล่า ต้มยำ ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเผ็ดตามต้องการในอาหารไทยทุกประเภท พริกบางชนิดนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวของอาหาร เช่นการใช้พริกขี้หนูแห้งคั่วในลาบเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ หรือใช้ปรุงแต่งให้อาหารมีสีสันสวยงามมากขึ้น 
ประโยชน์
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้เจริญอาหาร ถ้ากินในปริมาณไม่มากช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- สารแคปไซซินช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งและอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ช่วยขับลม ขับเสมหะ
- แก้อาเจียน แก้ปวดเมื่อย    

8. พริกไทย พริกไทยเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงทุกชนิด ใส่แกงจืดโดยตำร่วมกับรากผักชีและกระเทียมโรยอาหารประเภทผัดผักให้หอม คนไทยใช้พริกไทยสดในการประกอบอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงป่า ผัดเผ็ด 
ประโยชน์
- ใช้ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
- ช่วยระงับอาการปวดท้อง จุกเสียด
- ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยได้มากขึ้น 

9. มะกรูด คนไทยใช้ผิวมะกรูดเป็นเครื่องเทศผสมในเครื่องแกงหลายชนิดของแกงเผ็ดและผัดเผ็ด ใส่ในน้ำพริก (ขนมจีน) น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมใส่น้ำมะกรูดในปลาร้าหลน แกงส้ม แกงเทโพ ใบมะกรูดฉีกหรือหั่นฝอยเพื่อกลบคาวหรือแต่งกลิ่นในแกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ปลา แกงต้มส้ม ต้มยำ ห่อหมก ตำขนุน ข้าวยำปักษ์ใต้ ใส่ในเครื่องแกงทำทอดมันปลากราย ใช้ปรุงอาหารหลายอย่าง เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ทอดมัน ใช้โรยหน้าอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วเพื่อแต่งกลิ่น เช่น โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง 
ประโยชน์
- ช่วยขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ

10. มะนาว น้ำมะนาวใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารให้เปรี้ยว ใส่ในต้มยำ ส้มตำ พล่า ยำ น้ำพริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกกะปิ ปลาหมึกนึ่งมะนาว หรือใช้ผสมน้ำเป็นเครื่องดื่ม
ประโยชน์

- แก้ไอ ขับเสมหะ
- รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ
- แก้โรคลักปิด ลักเปิด

11. โหระพา ใช้เป็นผักสดสำหรับเครื่องเคียงกับลาบ น้ำตก เครื่องจิ้มต่างๆ ใช้แต่งกลิ่นอาหาร อาหารไทยที่นิยมใส่ใบโหระพา ได้แก่ แกงเผ็ดต่างๆ ผัดเผ็ด เช่น ผัดเผ็ดเนื้อ ผัดหอยลาย และ ผัดมะเขือยาว
ประโยชน์

- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

12. หอมแดง หอมแดงช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติ เป็นส่วนประกอบสำคัญในเครื่องแกงทุกชนิด ใช้ในอาหารประเภทแกงเผ็ด ต้มโคล้ง แกงเลียง ต้มยำ อาหารประเภทหลน อาหารประเภทยำ ลาบ น้ำพริกต่างๆ อาจาด เมี่ยง เครื่องเคียงของข้าวซอย ใช้ในขนมหวาน เช่นขนมหม้อแกง ใช้หอมแดงซอย เจียวให้เหลืองโรยหน้า ต้นและใบใช้เป็นผักสดสำหรับเป็นเครื่องเคียงพวกหลนต่างๆ
ประโยชน์

- ขับลม แก้ปวดท้อง 
- แก้หวัด คัดจมูก

13. หอมใหญ่ ใช้ใส่ในแกงมัสมั่น ยำต่างๆ และน้ำซุป
ประโยชน์

- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ              
       
Credit by : http://www.thaifoodtoworld.com

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

อาหาร - เมนู น้ำเห็ด 3 อย่าง


เห็ดสามอย่าง คือ เห็ด 3 ชนิดหรือมากกว่า 3 ชนิดขึ้นไป จะเป็นเห็ดสดหรือเห็ดแห้งก็ได้ที่นิยมนำมาปรุงอาหาร สามารถทานได้ทั้งเนื้อเห็ด และน้ำต้มเห็ด เห็ดชนิดเดียวประโยชน์ยังไม่มากเท่ากับเห็ด 3 ชนิดหรือมากกว่า 3 ชนิดขึ้นไปรวมกัน เห็ดที่นิยมนำมาทานกัน คือ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนูดำ เห็ดหูหนูขาว เห็ดหอม เห็นโคน เห็ดเข็มทอง เป็นต้น

โปรตีนในเห็ด 3 อย่าง เมื่อนำเห็ดทั้ง 3 ชนิด มารวมกันแล้วประกอบอาหาร จะได้โปรตีนจากเห็ด ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่ายกว่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ โปรตีนจากเห็ดจะไปสร้างกรดอะมิโนที่ช่วยบำรุงสมอง ปรับสมดุลของการสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกาย ต้านการเกิดมะเร็ง ขจัดสารพิษ ส่วนคนที่เป็นโรคมะเร็งนั้นสามารถทานเห็ดได้ แต่ไม่ควรคาดหวังว่าเมื่อทานเห็ดแล้วจะหายจากโรค ควรปรึกษาแพทย์และหาทางป้องกันรักษาจะดีที่สุด ส่วนอาหารชนิดอื่นที่มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระได้อย่างเห็ดก็มีมากมาย เช่น กระเจี๊ยบเขียว ลูกหม่อน ผัก และผลไม้ตามฤดูกาล

ประโยชน์ ของเห็ด 3 อย่างเมื่อนำมาปรุงอาหาร
- ช่วยล้างสารพิษที่ตกค้างในตับ ช่วยบำรุงไต
- ลดอนุมูลอิสระที่เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง
- สลายพังผืดในมดลูก
- เพิ่มเม็ดเลือดขาว ลดไขมันในเส้นเลือด
- เป็นอาหารบำรุงตับ ถ้าตับไม่แข็งแรงจะส่งผลให้ อารมณ์ไม่ดี ไทรอยอาจ เป็นพิษ ตัวผอมและพุงป่อง เป็นต้น

ขอแนะนำเมนูน้ำเห็ด 3 อย่าง ที่สามารถทำได้ง่าย และเหมาะกับทุกคนในครอบครัว

ส่วนประกอบน้ำเห็ดสามอย่าง
1. เห็ดฟาง
2. เห็ดนางฟ้า
3. เห็ดขอน
4. มะตูมแห้ง
5.  ใบเตย
สามารถใช้เห็ดชนิดอื่นแทนได้ ใช้ได้ทั้งเห็ดสด และเห็ดแห้ง

วิธีทำ
1. นำเห็ดสดทั้ง 3 ชนิด ล้างให้สะอาด แล้วหั่น
2. ต้มเห็ดทั้ง 3 ชนิดรวมกับมะตูมแห้ง และใบเตย ใส่น้ำพอประมาณ รอจนเดือด
3. เมื่อเดือดแล้ว ตักเห็ดแยกออก แล้วนำน้ำที่ได้ไปกรองผ่านผ้าขาวบาง ก็จะได้น้ำต้มเห็ด 3 อย่าง ที่มีรสชาติหวานจากเห็ด และมีกลิ่นหอมจากมะตูม และใบเตย
4. ส่วนเห็ดที่แยกออกมานั้นสามารถนำไปประกอบอาหารได้ แต่ไม่ควรนำไปผัดกับน้ำมัน ควรใช้กะทิแทน เพราะกะทิเป็นไขมันที่ละลายได้ในน้ำ และมีคอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

Credit by : http://board.palungjit.com

อาหาร - เห็ด ประโยชน์ของเห็ดชนิดต่างๆ


หลายๆ คนคงจะรู้ว่าเห็ดมีประโยชน์ แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าประโยชน์ของเห็ดแต่ละชนิดมีอะไรกันบ้าง เราจะนำมาบอกกันค่ะว่าเห็ดแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไรกัน

1. เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี1 บี2 สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูก และมีปริมาณโซเดียมต่ำเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”

2. เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาวช่วยบำรุงปอดและไต

3. เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เช่น เบต้ากลูแคนซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง

4. เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญองรูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุดโดยสารบางอย่างในเห็ดนี้จะไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย

5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อ ๆคล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำและเนื้อเหนียวหนานุ่ม อร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนของเลือด และโรคกระเพาะ

6. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกมีสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิดหากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล

7. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาวหัวเล็ก ๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆหรือใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง

8. เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิดแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่นเชื้อไทฟอยด์

เห็ดที่นักวิทยาศาสตร์นิยมเอามาวิเคราะห์ว่ามีสรรพคุณทางยานั้น ส่วนใหญ่เป็นเห็ดชนิดที่คนมักนำมาปรุงอาหารและหาได้ง่าย เช่นเห็ดเข็มทอง เห็ดหอม เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดหูหนู และเห็ดหลินจือ

ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองนำเห็ดหอมมาสกัด พบว่าในเห็ดหอมให้น้ำตาลโมเลกุลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เบต้ากลูแคน ถึง 2 ชนิดได้แก่ lentinan และ LEM (Lenti nula edodes mycelium) ซึ่งช่วยทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อ และชะลอการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งในการทดลองให้สาร lentinan กับผู้ป่วยมะเร็งร่วมกับการทำเคมีบำบัดก็พบว่าก้อนมะเร็งมีขนาดลดลง และอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดก็เกิดขึ้นน้อยลงด้วย

Credit by : http://board.palungjit.com

อาหาร - เมนูเจ เกี๊ยวกรอบ



ส่วนผสมทำเกี๊ยวกรอบ
  1. แป้งเกี้ยว 20 แผ่น
  2. เห็ดหอมปรุงรส 3 ดอก
  3. เห็ดฟาง 5 ดอก
  4. โปรตีนเกษตร 5 ชิ้น
  5. พริกใทยป่น 1/4 ช้อนชา
  6. น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
  7. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  8. น้ำมันพืชสำหรับทอด 2 ถ้วย
วิธีทำ
  1. ล้างเห็ดฟาง เฉือนโคนที่สกปรกออก ใส่กระชอนพักไว้
  2. โปรตีนเกษตร แช่น้ำไว้ให้นิ่ม
  3. สับเห็ดหอม เห็ดฟาง โปรตีนเกษตร รวมกันให้ละเอียด ใส่พริกไทย น้ำตาล ซีอิ๊วขาว เคล้าให้เข้ากัน (ใช้ทำเป็นไส้)
  4. วางแผ่นเกี้ยว ตักส่วนผสมข้อ 3 เป็นไส้ โดยวางไว้ตรงมุมม้วนเข้าไปถึงกึ่งกลางของแผ่นแป้งเกี้ยว พับมุมด้านข้างสองมุมเข้าหากัน ใช้น้ำแตะให้แป้งติดกัน ทำจนหมด
  5. ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟกลาง ใส่เกี้ยวลงทอดให้เหลืองกรอบ รับประทานกับน้ำจิ้ม
ส่วนผสมทำน้ำจิ้ม
  1. พริกชี้ฟ้าแดงโขลก 2 เม็ด
  2. น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
  3. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
  4. น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
     ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ พริกชี้ฟ้าโขลก เข้าด้วยกันตั้งไฟ เคี่ยวให้ข้น ยกลง

อาหาร - เมนูเจ เจี๋ยนผักรวมมิตร


วัตถุดิบที่ใช้

1. เห็ดหอมสด 5 ดอก
2. พริกหวานสีแดงหั่นชิ้น 7 ชิ้น
3. หน่อไม้ฝรั่งสีเขียวหั่นท่อน 1 ถ้วยตวง
4. รากบัวหั่นชิ้นบาง 10 ชิ้น
5. หน่อไม้ฝรั่งสีขาว 3 ต้น (แบบกระป๋อง) หั่นชิ้น
6. เม็ดบัวต้มสุก 1/4 ถ้วยตวง
7. เม็ดแปะก๊วยผ่าครึ่ง 1/4 ถ้วยตวง
8. เต้าเจี้ยวขาว 2 ช้อนโต๊ะ
9. ซอสเห็ดหอม 1.5  ช้อนโต๊ะ
10. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
11. น้ำมันงา 1 ช้อนชา
12. น้ำซุปเห็ดหอม 1/2 ถ้วยตวง
13. แป้งมันสำปะหลัง 2-3 ช้อนโต๊ะ (ละลายน้ำเปล่าเล็กน้อย)
14. น้ำมันพืช

วิธีทำ

1. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชให้ร้อน ใส่เห็ดหอมสด พริกหวาน รากบัว เม็ดบัว เม็ดแปะก๊วย หน่อไม้ฝรั่งทั้ง 2 ชนิด ผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยเต้าเจี้ยวขาวซอสเห็ดหอม ซีอิ๊วขาว น้ำมันงา น้ำซุปเห็ดหอม ผัดให้เข้ากันพอเดือด ใส่แป้งมันสำปะหลังคนให้เข้ากัน ชิมรส
2. จัดใส่จานให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟขณะร้อนๆ ทันที

Credit by : http://women.kapook.com

อาหาร - เมนูเจ โกยซีหมี่จักรพรรดิเห็ดรวม


วัตถุดิบที่ใช้

1. เส้นโกยซีหมี่ทอดกรอบ 100 กรัม
2. เม็ดบัวต้มสุก 1/4 ถ้วยตวง
3. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทอด 1/4 ถ้วยตวง
4. เต้าหู้แผ่นหั่นชิ้น 1/4 ถ้วยตวง
5. เห็ดนางฟ้าฉีกเป็นเส้น 1/4 ถ้วยตวง
6. เห็ดหอมสด 3 ดอก
7. เห็ดออรินจิหั่นชิ้น 1/2  ถ้วยตวง
8. ขึ้นฉ่ายหั่นท่อน 1 ต้น
9. เต้าเจี้ยวขาว 1 ช้อนโต๊ะ
10. น้ำมันงา 1.5 ถ้วยตวง
11. น้ำซุปเห็ดหอม 1/2 - 3/4  ถ้วยตวง
12. ซีอิ๊วขาว 1.5 ช้อนชา
13. น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
14. ซอสเห็ดหอม 2 ช้อนชา
15. แป้งข้าวโพด 2-3 ช้อนโต๊ะ (ละลายน้ำเปล่าเล็กน้อย)
16. พริกไทยป่นเล็กน้อย
17. น้ำมันพืช
18. น้ำส้มพริกดอง

 วิธีทำ

1. นำน้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน ใส่เต้าหู้ลงทอดให้พอเหลือง ตามด้วย เห็ดหอม เม็ดบัว เห็ดออรินจิ เห็ดนางฟ้า และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ผัดให้เข้ากัน
2ปรุงรสด้วยเต้าเจี้ยว น้ำมันงา น้ำซุปเห็ดหอม ซีอิ๊วขาว น้ำตาลทราย ซอสเห็ดหอม ผัดให้เข้ากัน เติมแป้งข้าวโพดละลายน้ำ คนให้เข้ากันอีกครั้ง ชิมรส
3จัดเส้นโกยซีหมี่ทอดกรอบใส่จาน นำส่วนผสมที่ผัดเตรียมไว้ราดลงบนเส้นโรยด้วยขึ้นฉ่าย พริกไทยป่น

Credit by : http://women.kapook.com

อาหาร - เจ กับ มังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร

     เดือนหน้าก็จะถึงเทศกาลกินเจกันแล้ว เราจะพามา Update กันว่าการกินเจมีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง ห้ามกินเนื้อสัตว์อย่างเดียวหรือเปล่า และบางคนอาจจะยังสับสนว่ากินเจกับกินมังสวิรัติแตกต่างกันอย่างไร เดี่ยวเราจะมาบอกเล่าให้ฟังกันค่ะ

อาหารเจ นอกจากไม่มีเนื้อสัตว์แล้ว ยังมีข้อห้ามว่าต้องไม่มี หอม กระเทียม ต้นกุยช่าย ผักชี และเครื่องเทศที่เผ็ดร้อน เพราะถือว่าอาหารดังกล่าวทำให้เกิดกำหนัด วัตถุดิบที่เป็นหลักในการประกอบอาหารเจ คือ แป้ง เต้าหู้ ซีอิ๊ว ถั่วเหลือง ถั่วต่าง ๆ และผักนานาชนิด ยกเว้นผักที่กล่าวมาแล้ว

นอกจากนี้ผู้กินเจที่เคร่งครัด น้ำมันพืชที่ใช้ต้องบริสุทธิ์ 100 % จะไม่ใช้น้ำมันพืชสูตรผสม เช่น น้ำมันรำข้าวปนน้ำมันถั่วเหลือง ภาชนะที่ใส่อาหารเจก็ต้องเตรียมไว้เป็นพิเศษ ไม่ใช้ปะปนกับภาชนะที่ใส่เนื้อสัตว์ ปัจจุบันอาหารเจได้รับการพัฒนารูปแบบขึ้นมาก มีการทำ “หมี่กึน” ที่ทำมาจากแป้งสาลีดัดแปลง ให้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเนื้อสัตว์ นำมาปรุงอาหาร สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถตัดขาดจากเนื้อสัตว์ได้เด็ดขาด

อาหารเจจะกินกันในระหว่างเทศกาลกินเจ คือ ช่วงระหว่างวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีนราว เดือนตุลาคม) ระยะเวลาประมาณ ๑๐ วัน หรือกินในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้ที่กินเจเชื่อว่าการกินเจเป็นการได้บุญ จะส่งผลให้ชีวิตประสบความสุขความเจริญ ทั้งเป็นการต่อชีวิตให้ยืนยาวต่อไป

อาหามังสวิรัรติ โดยรูปศัพท์หมายถึงการงดเว้นเนื้อสัตว์ (มังสะ=เนื้อสัตว์ วิรัติ=การงดเว้น) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Vegetarian

ผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติมี 2 กลุ่ม
     กลุ่มแรก ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่ยังคงบริโภคไข่และนม
     กลุ่มที่สอง ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ รวมทั้งไม่บริโภคไข่และนมด้วย
อาหารมังสวิรัติงดเนื้อสัตว์เหมือนกับอาหารเจ รวมทั้งเครื่องปรุงรสที่ทำมาจากสัตว์ เช่น กะปิ น้ำปลา แต่ต่างกับอาหารเจตรงที่ไม่ห้ามบริโภคกระเทียม หัวหอม ต้นกุยช่าย หรือผักที่มีกลิ่นแรงตลอดจนเครื่องเทศที่เผ็ดร้อน 

อาหารมังสวิรัติสามารถบริโภคได้ทั้งปี ไม่มีเทศกาลเหมือนอาหารเจ ผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติเชื่อว่าจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง เพราะได้งดเนื้อสัตว์ซึ่งมีไขมันและสารอื่น ๆ มากมาย นอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ต่อจิตใจเพราะไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย

Credit by : http://th.answers.yahoo.com

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

อาหาร - เมนู คาราเมลคัสตาร์ดเต้าหู้


ส่วนผสมคัสตาร์ด
1. น้ำตาลทราย 100 กรัม
2. นมสดรสจืด 350 กรัม
3. ไข่ไก่ 3 ฟอง
4. เต้าหู้หลอด 100 กรัม
5. วานิลา 2 ช้อนชา
6. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

วิธีทำคัสตาร์ด
1. ปั่นเต้าหู้กับนมสดให้ละเอียด
2. ผสมน้ำตาลทราย เกลือ รวมกัน ใส่ส่วนผสมข้อ 1 คนให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อน ๆ คนให้น้ำตาลละลาย ยกลงพักไว้ให้อุ่น
3. คนไข่พอเข้ากัน เทใส่ในส่วนผสมนม ใส่วานิลา คนให้เข้ากัน
4. ตักส่วนผสมใส่พิมพ์ที่มีคาราเมลให้เต็มพิมพ์
5. นึ่งไฟอ่อนให้สุก ขณะนึ่งหมั่นเปิดฝารังถึงเพื่อเช็ดไอน้ำ
6. ยกลงพักให้เย็น

ส่วนผสมคาราเมล
1. น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
2. น้ำ 1/4 ถ้วย
3. น้ำมะนาว 1/2 ช้อนชา

วิธีทำคาราเมล
1. ใส่น้ำตาลในกระทะทองเหลือง ตั้งไฟให้น้ำตาลละลาย
2. รอให้น้ำตาลไหม้เล็กน้อย ใส่น้ำและน้ำมะนาวเคี่ยวให้ข้น ยกลง
3. ตักใส่พิมพ์ 1-2 ช้อนโต๊ะ

Credit by: http://iammomsociety.com

อาหาร - เมนู เต้าหู้หน้าหมู

วัตถุดิบเต้าหู้หน้าหมู
1. หมูบด 1 ถ้วยกลาง
2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
3. เต้าหู้ไข่แบบหลอด 2 หลอด
4. น้ำตาล 1 ช้อนชา
5. ซอสถั่วเหลือง 2 ช้อนชา
6. พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
7. ผักชีซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
8. แครอทซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
9. น้ำมันพืช

วิธีทำเต้าหู้หน้าหมู
1. หมักหมูบด ด้วยน้ำตาล ซอสถั่วเหลือง พริกไทยป่น ผักชีและแครอทซอย และไข่ขาว (ใช้ไข่ขาวเท่านั้น เพื่อช่วยประสานหมูกับเต้าหู้) หมักไว้ประมาณ 15-20 นาที
2. นำเต้าหู้ไข่มาหั่นเป็นชิ้น ให้มีความหนาประมาณ 2 cm. แล้วนำไปทอดให้พอเหลืองทั้ง 2 ด้าน แล้วตักขึ้นมาพักน้ำมันไว้ 
3. นำหมูที่หมักไว้มาวางบนหน้าเต้าหู้ที่ทอดเรียบร้อยแล้ว
4.นำเต้าหู้หน้าหมูไปนึ่งจนหมูสุก ใช้เวลาประมาณ 30 นาที สามารถรับประทานได้ทันที

อาหาร - เมนู สเต็กเต้าหู้ราดซอสเห็ด


สเต็กเต้าหู้ราดซอสเห็ด เต้าหู้ที่จะใช้ทำสเต็กควรเลือกเต้าหู้ที่ไม่แข็ง และมีกลิ่นหอมของถั่ว ตัวเต้าหู้เองไม่ค่อยมีรสชาติอะไรนัก การปรุงเต้าหู้ให้อร่อยจึงขึ้นกับซอสราด

วัตถุดิบสเต็กเต้าหู้ราดซอสเห็ด
1. เต้าหู้ 1 ชิ้นใหญ่
2. แป้งสาลีเอนกประสงค์สำหรับชุบเต้าหู้
3. มาการีน 1ช้อนชา สำหรับย่างเต้าหู้
4. น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ
5. หอมใหญ่สับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
6. กระเทียมสับ 1/2 ช้อนชา
7. น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
8. พริกไทย นิดหน่อย
9. น้ำตาลไม่ฟอกสี 1 ช้อนชา
10. ซอสไก่งวง 2 ช้อนชา
11. เห็ดแชมปิญองหั่น ตามชอบ

วิธีทำสเต็กเต้าหู้ราดซอสเห็ด
1. นำเต้าหู้คลุกแป้งสาลี เคาะแป้งออก แล้วย่างบนกระทะ กับมาการีน ย่างไฟอ่อน จนผิวทั้ง2 ด้านเป็นสีเหลืองทอง ตักใส่จานพักไว้
2. ทำซอสราดสเต็ก โดยการตั้งกระทะไฟกลาง ใส่น้ำมันมะกอก เจียวหอมใหญ่จนเหลือง ใส่กระเทียม
3. ใส่เครื่องปรุงที่เหลือ หากข้นไป เติมน้ำ เคี่ยวจนเข้ากัน เหนียว และเดือด
4. นำซอสไปราดบนเต้าหู้สเต็กที่ย่างเสร็จ
5. จัดแต่งจานคู่กับสลัดผักสุก

Credit by: http://www.foodtravel.tv/

อาหาร - เต้าหู้ อร่อยดี ประโยชน์เยี่ยม

     
     ถ้าพูดถึงเต้าหู้คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะนอกจากอร่อย ราคาถูกแล้วยังเต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีประโยชน์ทางด้านไหนอย่างไรบ้าง เราจะพาไปดูกันค่ะ
   
     ประโยขน์ของเต้าหู้
  • มีโปรตีนสูง ใกล้เคียงกับไข่และเนื้อสัตว์ทีเดียว
  • มีสาร เลซิติน ซึ่งมีผลในการลดไขมันและช่วยสงเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความทรงจำ
  • มีฮอร์โมนจากพืช ไฟโตเอสโทรเจน ซึ่งวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็ง และมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทองคือช่วยชะลอภาวะหมดประจำเดือน และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีแคลเซียมสูง เหมาะสำหรับสตรีวัยทอง สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
  • มีเส้นใยสูง ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ 
  • ไม่มี คอลแลตโตลอน เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมไขมันในเส้นเลือด
  • เป็นอาหารที่ย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีระบบย่อยไม่ดี หรือเด็กเล็กที่ฟันยังงอกไม่สมบูรณ์
     จะเห็นได้ว่าเต้าหู้ประโยชน์มากกมาย คุ้มค่าเกินราคาจริงๆ คงจะอยากไปซื้อหามารับประทานกันแล้วใช่ไหมค่า เราก็มีวิธีการเลือกซื้อเต้าหู้มาฝากกันด้วยค่ะ
 
     การเลือกซื้อเต้าหู้
  • อยากได้เต้าหู้ร้านที่ไม่ใส่สารกันบูด ทดสอบโดยนำมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้องหนึ่งวัน ถ้าเสียแสดงว่าไม่ใส่สารกันบูด ครั้งต่อไปจะได้ซื้อมาทานได้อย่างสบายใจ
  • ต้องไม่มีเหงื่อหรือน้ำขุ่นขาวซึมออกมาจากเต้าหู้
  • สีต้องใกล้เคียงกันทั้งก้อนไม่มีจุดด่างดำ และไม่คล้ำไปจากก้อนอื่นๆ
  • เมื่อดมดูแล้วต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นเปรี้ยว
     Blog นี้คงได้ทราบประโยชน์ของเต้าหู้และวิธีการเลือกซื้อไปแล้วนะค่ะ เดี่ยวต่อไปเราคงพาไปหาวิธีทำให้มันน่ากินยิ่งขึ้น ติดตามได้ในตอนต่อๆไปนะค่ะ